วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โครงงานคอมพิวเตอร์2558

สัปดาห์ที่1
                                     ใบงานที่ 1.1 : ความหมายและคุณค่าของโครงงาน
  
 1. จงบอกความหมายของโครงงานคอมพิวเตอร์
ตอบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่างๆ เพื่อนำผลงานที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือเพื่อใช้ช่วยสร้างสื่อเสริมการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์

2. นักเรียนคิดว่าการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ จะได้ประโยชน์อย่างไร ให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อๆ
ตอบ 1.มีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาการคอมพิวเตอร์
         2.ฝึกทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งเครื่องมือต่างๆในการแก้ปัญหา
         3.ประหยัดค่าใช้จ่าย

3. กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ควรมีองค์ประกอบหลักอะไรบ้าง
ตอบ - เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ และ/หรือ ฮาร์ดแวร์
         - ผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า พัฒนา ด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
         - ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูล หรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการสรุปผล และการเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา

4. "การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ได้พัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน" นักเรียนมีความคิดเห็นต่อประโยคนี้อย่างไร
ตอบ การทำโครงงาน ได้พัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นลำดับ การแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งการตัดสินใจในด้านต่างๆ

5. นักเรียนใช้หลักเกณฑ์อะไรบ้าง ในการเลือกทำโครงงาน จงเขียนเป็นข้อ ๆ เรียงตามลำดับความสำคัญ
ตอบ 1.ระดับความรู้
         2.ระดับความสามารถ
         3.ระดับความสนใจ
         4.งบประมาณของผู้เรียน



ใบงานที่ 1.2 ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์

1.โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการสื่อสาร
2.โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
3.โครงงานจำลองทฤษฎี
4.โครงงานประยุกต์ใช้งาน
5.โครงงานพัฒนาเกม

























วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

การใช้งาน Photoshop


การใช้รูปทรงในการสร้างรูปภาพ การเเต่งสีผสมให้สวยงาม

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การใช้โปรแกรม camtasia



รู้จักการใช้โปรเเกรม Camtasia การตกเเต่งวิดีโอโดยโปรเเกรม Camtasia เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนในการอัดวิดีโอเผยเเพร่ความรู้

การใช้ webcam


รู้จักการใช้ webcam ในการนำเสนอความรู้เเละการเเสดงออก

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558



การเผยเเพร่ความรู้ผ่านวิดีโอเเละตัดต่อให้สวยงาม


เข้าใจการใช้ Excel ในการคิดค่าเฉลี่ยของเเบบสอบถาม การคิด SD การสรุปค่า สามารถหาค่าเฉลี่ยต่างๆได้อย่างรวดเร็วขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Pdf1


เข้าใจเเละรู้วิธีการจัดรูปแบบพื้นหลังโดยใช้ word  เข้าใจเเละรู้วิธีการเเปลงไฟล์เเละเซฟงานจาก word ไปเป็น pdf  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้

Exค่าเฉลี่ย1



มีความเข้าใจในการคิดค่าเฉลี่ยเลขคณิต การคิดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรเเกรม Ex รู้เทคนิคการพิสูจน์สูตร การจัดรูปเเบบตาราง

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายชื่อสมาชิก 6/2

ครูเเพท patcharinclass2.blogspot.com


ครูหยก tmkhongyok.blogspot.com

127498นายไกรสร ส่งบุญ
227500นายคุณภัค บวรพิพัฒนวงศ์
327501นายจารุกิตต์ สายสอาด
427503นายญาณกร หาญณรงค์
527508นายธวัชชัย แจ้งบุตร
627512นายสาธิต ผิวผ่อง
727579นายไกรวี ชาโชติ
827580นายคมสันต์ เสมทับ
927677นายพลวัต สวยทอง
1029831นายธรรศ วงศ์ภาณุวัฒน์
1129832นายนิภัทร์ การะเวก
1229833นายภัทรพงษ์ สุทธิบุตร
1329834นายวิรุฬห์ ต๋องเรียน
1430482นายกัมพล เสลาคุณ
1527516นางสาวเจนจิรา รักดี
1627518นางสาวญาณิศา ดวงเจริญยิ่ง
1727520นางสาวธนภรณ์ นาคอ้น
1827521นางสาวธนวรรณ อ่อนส้มกริต
1927527นางสาวลักษณา มุสิกวัตร
2027530นางสาวศิริพิชชาภัค รฐาโชคนิธิธนากุล
2127531นางสาวศิริลักษณ์ ปานน้อย
2227553นางสาวจตุพร อยู่หุ่น
2327557นางสาวฐิติพร สมทบบารมี
2427565นางสาวมัณฑนา จันทร์แจ่ม
2527567นางสาวรัตนาวดี นาคโต
2627569นางสาววัฒนา ศรีสุข
2727573นางสาวสุนิสา เล็กซุง
2827575นางสาวอรทัย ศรีจันทร์
2927830นางสาวดวงพร จิตต์น้ำใจ
3029820นางสาวชนิตา โคตะมะ
3129821นางสาวฐิติยา เลาหะกาญจนศิริ
3229822นางสาวธนัตดา กระต่ายทอง
3329823นางสาวพรฏิตรา ปฏิพัทธ์ธรรม
3429824นางสาวพรปวีณ์ รุ่งเรือง
3529825นางสาวรัตติยา เจริญพร
3629826นางสาวฤทัยกาญจน์ ทองปาน
3729827นางสาวศิริเดือน เลาหเจริญกุล
3829828นางสาวศิริรัตน์ ลี้เกษร
3929829นางสาวศุภากร คงสังข์
4029830นางสาวอภิญญา พุคง
4129935นางสาววราภรณ์ ระเบียบ
4230475นางสาววิรัลพัชร ธนาวัฒน์ศักดิ์

ธนาคารความรู้ของฉัน

มหาวิทยาลัย

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายชื่อสมาชิก 6/2

ครูแพท patcharinclass2.blogspot.com


127498นายไกรสร ส่งบุญ
227500นายคุณภัค บวรพิพัฒนวงศ์
327501นายจารุกิตต์ สายสอาด
427503นายญาณกร หาญณรงค์
527508นายธวัชชัย แจ้งบุตร
627512นายสาธิต ผิวผ่อง
727579นายไกรวี ชาโชติ
827580นายคมสันต์ เสมทับ
927677นายพลวัต สวยทอง
1029831นายธรรศ วงศ์ภาณุวัฒน์
1129832นายนิภัทร์ การะเวก
1229833นายภัทรพงษ์ สุทธิบุตร
1329834นายวิรุฬห์ ต๋องเรียน
1430482นายกัมพล เสลาคุณ
1527516นางสาวเจนจิรา รักดี
1627518นางสาวญาณิศา ดวงเจริญยิ่ง
1727520นางสาวธนภรณ์ นาคอ้น
1827521นางสาวธนวรรณ อ่อนส้มกริต
1927527นางสาวลักษณา มุสิกวัตร
2027530นางสาวศิริพิชชาภัค รฐาโชคนิธิธนากุล
2127531นางสาวศิริลักษณ์ ปานน้อย
2227553นางสาวจตุพร อยู่หุ่น
2327557นางสาวฐิติพร สมทบบารมี
2427565นางสาวมัณฑนา จันทร์แจ่ม
2527567นางสาวรัตนาวดี นาคโต
2627569นางสาววัฒนา ศรีสุข
2727573นางสาวสุนิสา เล็กซุง
2827575นางสาวอรทัย ศรีจันทร์
2927830นางสาวดวงพร จิตต์น้ำใจ
3029820นางสาวชนิตา โคตะมะ
3129821นางสาวฐิติยา เลาหะกาญจนศิริ
3229822นางสาวธนัตดา กระต่ายทอง
3329823นางสาวพรฏิตรา ปฏิพัทธ์ธรรม
3429824นางสาวพรปวีณ์ รุ่งเรือง
3529825นางสาวรัตติยา เจริญพร
3629826นางสาวฤทัยกาญจน์ ทองปาน
3729827นางสาวศิริเดือน เลาหเจริญกุล
3829828นางสาวศิริรัตน์ ลี้เกษร
3929829นางสาวศุภากร คงสังข์
4029830นางสาวอภิญญา พุคง
4129935นางสาววราภรณ์ ระเบียบ
4230475นางสาววิรัลพัชร ธนาวัฒน์ศักดิ์

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 1

การใช้งาน Blogger


คู่มือการเริ่มต้นใช้งานบล็อกเกอร์


ขอต้อนรับสู่บล็อกเกอร์! คู่มือนี้จะช่วยเหลือคุณในการสร้างบล็อก และทำความคุ้นเคยกับคุณลักษณะที่สำคัญของบล็อกเกอร์
ในการเริ่มใช้บล็อกเกอร์ เพียงลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชี Google (ถ้าคุณใช้ Gmail, Google Groups หรือ orkut แสดงว่าคุณมีบัญชีอยู่แล้ว) ถ้าคุณยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ Google Account คุณสามารถสร้างบัญชีใหม่ได้ทันที

เนื้อหา

สร้างบล็อก

เมื่อต้องการเริ่มเขียนบล็อกด้วยบล็อกเกอร์ ให้ไปที่ หน้าแรกบล็อกเกอร์ ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณ จากนั้นคลิกลงชื่อเข้าใช้ ป้อนชื่อที่แสดง และยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการของบล็อกเกอร์ จากนั้นคลิกที่ลิงก์ สร้างบล็อก แล้วเริ่มต้นได้เลย!
เลือกที่อยู่ (URL) และชื่อบล็อก จากนั้นเลือกเทมเพลตบล็อกที่คุณชอบ (นี่คือลักษณะหน้าตาของบล็อกเมื่อคุณเผยแพร่) จากนั้นก็เริ่มใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มข้อมูลในโปรไฟล์ส่วนบุคคลของคุณ และปรับแต่งลักษณะของบล็อก ถ้าคุณต้องการ เริ่มต้นเขียนบล็อกวันนี้

แดชบอร์ด


หน้าแดชบอร์ดคือจุดเริ่มต้นของคุณเช่นเคย หน้านี้จะแสดงรายชื่อบล็อกของคุณทั้งหมด และคุณสามารถคลิกที่ไอคอนถัดจากชื่อบล็อกเพื่อดำเนินการต่างๆ กับแต่ละบล็อก เช่น
  • เขียนโพสต์ใหม่: คลิกที่ไอคอนดินสอสีส้มบนแดชบอร์ดเพื่อเข้าถึงเครื่องมือการแก้ไขโพสต์
  • ดูโพสต์ของคุณ: ไอคอนรายการโพสต์สีเทาจะนำคุณไปยังรายการโพสต์ที่เผยแพร่แล้วและโพสต์ในข้อความร่างของบล็อกนั้นๆ
  • ติดตามบล็อกโปรดของคุณ: ด้านล่างรายการบล็อกของคุณ คุณจะเห็นรายการบล็อกที่คุณติดตาม พร้อมข้อความตัวอย่างจากโพสต์ล่าสุดของบล็อกเหล่านั้น
  • อื่นๆ: ดูเมนูเลื่อนลงข้างไอคอนรายการโพสต์สำหรับลิงก์ด่วน

ภาพรวม

ภาพรวม
บนแท็บ ภาพรวม คุณจะเห็นกิจกรรมต่างๆ ของบล็อก ข่าวสาร และเคล็ดลับจากทีมบล็อกเกอร์ และบล็อกล่าสุดของกระดาษโน้ต

เขียนโพสต์ของคุณ

เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้บล็อกเกอร์แล้ว คุณจะเห็นแดชบอร์ดพร้อมด้วยรายชื่อบล็อก ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องทำ
  1. คลิกที่ไอคอนรูปดินสอสีส้มเพื่อเขียนโพสต์ใหม่ และป้อนอะไรก็ได้ที่ต้องการแบ่งปันกับคนทั้งโลก
  2. ถัดไป คุณจะเห็นหน้าเว็บของเครื่องมือแก้ไขโพสต์ เริ่มต้นด้วยการตั้งชื่อโพสต์ (ไม่จำเป็น) จากนั้นป้อนเนื้อหาโพสต์
    โพสต์ใหม่
  3. เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม ดูตัวอย่าง ที่ด้านบนเพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าพร้อมที่จะดำเนินการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม เผยแพร่เพื่อเผยแพร่โพสต์

เพิ่มรูปภาพ

คุณสามารถเพิ่มภาพจากคอมพิวเตอร์หรือจากเว็บไปยังบล็อกของคุณ คลิกที่ไอคอนภาพในแถบเครื่องมือของเครื่องมือแก้ไขบทความ หน้าต่างใหม่จะปรากฏขึ้น เพื่อให้คุณเรียกดูไฟล์ภาพจากคอมพิวเตอร์ หรือป้อน URL ของภาพบนเว็บ
เมื่อคุณเลือกภาพได้แล้ว คุณจะสามารถเลือกการออกแบบเพื่อกำหนดว่าภาพของคุณจะปรากฏในบทความอย่างไร:
  • ตัวเลือก "ซ้าย" "กึ่งกลาง" และ "ขวา" ช่วยให้คุณปรับแต่งวิธีที่ข้อความบล็อกจะล้อมรอบภาพของคุณ
  • ตัวเลือก "ขนาดภาพ" จะกำหนดขนาดของภาพที่จะปรากฏในบทความของคุณ
คลิก อัปโหลดภาพ เพื่อเพิ่มภาพของคุณ จากนั้นคลิก เสร็จสิ้น เมื่อหน้าต่างการแจ้งปรากฏเพื่อแจ้งให้คุณทราบว่า "เพิ่มภาพของคุณแล้ว" จากนั้น Blogger จะนำคุณกลับสู่เครื่องมือแก้ไขบทความ ซึ่งคุณจะพบภาพของคุณพร้อมสำหรับการเผยแพร่ในบล็อกของคุณ
นอกจากนี้คุณยังสามารถเผยแพร่ภาพในบล็อกของคุณ โดยใช้อุปกรณ์มือถือ ซอฟต์แวร์ภาพที่ให้บริการฟรีของ Google Picasa หรือบริการของบุคคลที่สามเช่น flickr

เพิ่มวิดีโอ

เมื่อต้องการเพิ่มวิดีโอลงในโพสต์ของบล็อก ให้คลิกไอคอนรูปแผ่นฟิล์มในแถบเครื่องมือตัวแก้ไขโพสต์ที่ด้านบนของบริเวณที่คุณใช้เขียนข้อความบล็อก จะมีหน้าต่างปรากฏเพื่อให้คุณ "เพิ่มวิดีโอในบทความบล็อกของคุณ"
คลิก เรียกดู เพื่อเลือกไฟล์วิดีโอจากคอมพิวเตอร์ของคุณที่คุณต้องการอัปโหลด โปรดทราบว่า Blogger ยอมรับไฟล์ AVI, MPEG, QuickTime, Real และ Windows Media และวิดีโอของคุณต้องมีขนาดน้อยกว่า 100 เมกะไบต์
ก่อนที่จะอัปโหลดวิดีโอ เพิ่มชื่อในช่อง "ชื่อวิดีโอ" และยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการ (คุณต้องดำเนินการนี้เฉพาะครั้งแรกที่อัปโหลดวิดีโอกับ Blogger) จากนั้นคลิก อัปโหลดวิดีโอ
ขณะที่วิดีโอของคุณถูกอัปโหลด คุณจะพบตัวจองพื้นที่ในเครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแสดงว่าวิดีโอของคุณจะปรากฏที่ไหน นอกจากนี้คุณจะพบข้อความสถานะใต้เครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแจ้งให้คุณทราบว่าการอัปโหลดกำลังดำเนินการ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณห้านาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดวิดีโอของคุณ เมื่อดำเนินการเสร็จ วิดีโอของคุณจะปรากฏในตัวแก้ไขโพสต์

กำหนดค่า

เทมเพลตเป็นสิ่งที่คุณจะใช้ปรับแต่งบล็อกได้อย่างสนุกสนาน เมื่อสร้างบล็อกใหม่ คุณจะต้องเลือกเทมเพลตเริ่มต้น ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นฐานสำหรับบล็อกของคุณ คุณสามารถเลือกจาก เทมเพลตจำนวนมาก ที่เตรียมไว้ให้สำหรับบล็อกของคุณ เพียงเลือกเทมเพลตที่เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด
เทมเพลต
เมื่ออยู่บนแท็บ เทมเพลต คุณสามารถเลือกคลิกที่ปุ่ม กำหนดค่า สีส้มเพื่อเริ่มเครื่องมือออกแบบเทมเพลต WYSIWYG (“สิ่งที่เห็นคือสิ่งที่จะได้”) หรือเลือกเทมเพลตเริ่มต้นอันใดอันหนึ่งของเรา หากต้องการแก้ไข HTML ของบล็อก ให้คลิกที่ปุ่ม แก้ไข HTML สีเทา
นอกจากนี้ คุณสามารถปรับแต่งการออกแบบบล็อก โดยใช้อินเทอร์เฟซแบบลากและวางที่ใช้งานง่าย นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มวิดเจ็ตดีๆ เช่นการแสดงภาพสไลด์ หรือโพลจากผู้ใช้ หรือแม้แต่ โฆษณา AdSense ก็ได้ ถ้าคุณต้องการควบคุมการออกแบบบล็อกโดยละเอียดยิ่งขึ้นอีก คุณสามารถใช้คุณลักษณะแก้ไข HTML ได้ ในการแก้ไขการออกแบบบล็อก ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. คลิก การออกแบบ จากเมนูแบบเลื่อนลงบนแดชบอร์ดด้านล่างบล็อกที่คุณต้องการกำหนดค่า
  2. จากนั้นคลิก แก้ไข เพื่อแก้ไขแกดเจ็ตที่มีอยู่ หรือ เพิ่มแกดเจ็ต เพื่อเพิ่มใหม่
  3. ถ้าต้องการเพิ่มแกดเจ็ตใหม่หลังจากที่คุณคลิก เพิ่มแกดเจ็ต ให้คลิกที่เครื่องหมายบวกถัดจากแกดเจ็ตที่คุณต้องการ คุณสามารถเลือกวิดเจ็ตตามหมวดหมู่ หรือค้นหาวิดเจ็ตที่ต้องการในมุมด้านขวาบนของหน้าต่างแบบป๊อปอัป
  4. add_gadget
  5. เมื่อคุณได้เพิ่มข้อมูลที่จำเป็นไปยังแกดเจ็ตที่เลือกไว้เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม บันทึกการจัดวาง สีส้ม การออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไว้จะปรากฏขึ้นในทันที

#permissionsข้อมูลส่วนบุคคลและการอนุญาต

ตามค่าเริ่มต้น บล็อกของคุณทุกส่วนจะเป็นแบบสาธารณะ และบุคคลทั่วไปในอินเทอร์เน็ตสามารถอ่านได้ แต่ถ้าคุณต้องการความเป็นส่วนตัว คุณสามารถทำได้เช่นกัน คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเหล่านี้ในแท็บ การตั้งค่า | ขั้นต้น
การอนุญาตและข้อมูลส่วนบุคคล
  1. ในส่วน "ผู้อ่านบล็อก" คุณอาจพบว่ามีการเลือก "ใครก็ได้" ไว้เป็นค่าเริ่มต้น เมื่อเปลี่ยนตัวเลือกนี้เป็น "เฉพาะผู้อ่านเหล่านี้" คุณจะพบปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน
  2. คลิกที่ปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน จากนั้นป้อนที่อยู่อีเมลของบุคคลที่คุณต้องการให้สิทธิ์ในบล็อกของคุณ ถ้าต้องการเพิ่มหลายคน ให้คั่นที่อยู่ด้วยเครื่องหมายจุลภาค
  3. สำหรับแต่ละที่อยู่ที่ป้อน บัญชีผู้ใช้ Google ที่เชื่อมโยงกับที่อยู่นั้นจะได้รับสิทธิ์ในการดูบล็อกของคุณ ถ้าที่อยู่ไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชี บุคคลนั้นจะได้รับอีเมลคำเชิญพร้อมด้วยลิงก์เพื่อให้สามารถดำเนินการหนึ่งในสามอย่างต่อไปนี้:
    • ลงชื่อเข้าใช้บัญชีที่มีอยู่
    • สร้างบัญชีใหม่
    • ดูบล็อกในฐานะผู้เข้าชม (ไม่ต้องมีบัญชี)


ประโยชน์ และ ข้อดี ข้อเสีย ในการใช้งาน WEBLOG

ข้อเสียในการใช้งาน Blog

  1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
  2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
  3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ ok nation เป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalist แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
  4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
  5. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่า เชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
  6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
  7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
  8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
  9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น

ข้อดีของการใช้งาน Blog

  1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนออะไรก็ได้  ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่  รวมถึงไม่ผิดกฎหมาย ศีลธรรม และประเพณีที่ดีงาม ซึ่งถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎเกณฑ์ต่างๆก็ขึ้นอยู่ที่เราจะกำหนดเอง
  2. เปิดโอกาสให้ Blogger ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ ซึ่งตัว Blog เองจะรับไว้ แต่ตัว Blogger จะไม่อ่าน จะตอบ หรือ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก(หรือ Blogger) แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณีฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
  3. ในด้านเทคนิคเจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยเพียงบทเรียนง่ายๆ จากการสังเกต การทดลอง และสามัญสำนึกช่วยก็สามารถทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code ได้ด้วยตนเอง
  4. สามารถสร้างเครือข่ายชุมชนสัมพันธ์ระหว่าง Blogger ที่มีความคิดเห็น ความสนใจ หรือ มีความรู้สึกนึกคิดร่วมกันได้
  5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ในการทำการประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆ รวมไปถึงผลงานให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นได้ ซึ่งหากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
  6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
  7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ให้ช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
  8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
  9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และ เพื่อนของเพื่อนของบล็อกเกอร์ …..
  10. ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
  11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinun ป้ามด และอีกหลายๆท่าน
  12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็นผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
  14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน หรือแม้กระทั่งใช้เป็นจดหมายเหตุก็สามารถทำได้
  15. สามารถใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์เพื่อนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆ
  16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง,ถึงคนอันเป็นที่รัก ,ที่ชัง ,ครอบครัว ,เพื่อน ,คนอื่นๆ รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง,พืช,งานอดิเรก,ของรักของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
  17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้าศึกษาได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
  19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีมาใช้ร่วมกันได้
  20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
  21. ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
  22. ใช้สร้างการรวมกลุ่มของชุมชนออนไลน์ขนาดย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ หรือแสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแต่ความสนใจของกลุ่มนั้นๆ ซึ่งในบางกรณีผู้ใช้งานสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหลได้อีกด้วย
  23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มา